วันจันทร์ที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2551

ดอกชวนชมจ้า!!!


ชื่อสามัญImpala Lily Adenium


ชื่อวิทยาศาสตร์Adenium obesum.


ตระกูลAPOCYNACEAE




ลักษณะทั่วไป
ชวนชมเป็นพรรณไม้ยืนต้นอวบน้ำขนาดเล็กลำต้นมีความสูงประมาณ1-3เมตรลำต้นอวบน้ำผิวเปลือกสีเขียวปนขาวผิวเรียบเป็นมัน ลำต้นมียางลำต้นบิดงอไปตามจังหวะแตกกิ่งก้านสาขาน้อยรูปทรงโปร่งใบแตกออกตามปลายของกิ่งก้านใบมนรีปลายใบมนโคนใบสอบเรียว กลางใบมีเส้นสีขาวมองได้ชัด ตัวใบแข็ง ผิวเป็นมันเรียบมีสีเขียวดอกออกตรงปลายยอดของก้านดอกเป็นรูปแตรมีกลีบดอก 5 กลีบ มีสีชมพูโคนกลีบดอกมีฐานรองดอกเป็นแฉกเล็ก ๆ สีเขียว ดอกบานมีความกว้างประมาณ 3-4 เซนติเมตร ยาวประมาณ5 เซนติเมตร


การเป็นมงคล
คนไทยโบราณเชื่อว่า บ้านใดปลูกต้นชวนชมไว้ประจำบ้านจะทำให้เกิดการชวนชม นิยมชมชอบ เพราะชวนชมเป็นไม้มงคลนาม และยังทำให้เกิดแสน่ห์แห่งการดึงดูดตา ดูดใจ ชวนมองยิ่งนัก


ตำแหน่งที่ปลูกและผู้ปลูก
เพื่อเป็นสิริมงคลแก่บ้านและผู้อาศัย ควรปลูกต้นชวนชมไว้ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ผู้ปลูกควรปลูกในวันพุธ เพราะโบราณเชื่อว่าการปลูกไม้เอาประโยชน์ทั่วไปทางดอกให้ปลูกในวันพุธ


การปลูก
การปลูกแบ่งเป็น 2 วิธี
1. การปลูกในกระถางเพื่อประดับภายนอกอาคารบ้านเรือน ใช้กระถางทรงและขนาด 12-18 นิ้ว ใช้ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก ; ขุยมะพร้าว : ดินร่วน อัตรา 1 : 1 : 1 ผสมดินปลูก เพื่อความสวยงามของทรงพุ่มควรดูแลตัดกิ่งให้เหมาะสม และควรเปลี่ยนกระถาง 1-2 ปี/ครั้ง เพราะการขยายตัวของรากแน่นเกินไป2. การปลูกในแปลงปลูกประดับบริเวณบ้านและสวน ขนาดหลุมปลูก 30 x 30 x 30 เซนติเมตร ใช้ปุ๋คอกหรือปุ๋ยหมัก : ดินร่วน อัตรา 1 : 2 ผสมดินปลูก แต่ที่เหมาะสมควรปลูกประดับบริเวณสวนนิยมปลูกเป็นกลุ่มจะให้ดอกที่สวยงามเด่นชัดขึ้น

การดูแลรักษา
แสง ต้องการแสงแดดจัด หรือกลางแจ้ง

น้ำ ต้องการปริมาณน้ำน้อย ทนต่อความแห้งแล้งให้น้ำ 7-10 วัน/ครั้ง

ดิน ดินร่วนซุย

ปุ๋ย ควรใส่ปุ๋ยคอก หรือปุ๋ยหมัก อัตรา 1-2 กิโลกรัม/ต้น ใส่ปีละ 4-6 ครั้ง

การขยายพันธ์ การปักชำ การตอน

โรคและศัตรู ไม่ค่อยมีปัญหาเรื่องโรคและศัตรู เพราะเป็นไม้ที่มีความทนทานต่อสภาพธรรมชาติได้ดี

ดอกลีลาวดี ดี ดี......


ชื่อวิทยาศาสตร์ Plumeria spp.
ตระกูล Apocynaceae
ชื่อสามัญ Frangipani,Pagoda,Temple
ถิ่นกำเนิด เม็กซิโกใต้ถึงตอนเหนือทวีปอเมริกาใต้

ลักษณะทั่วไป

ลีลาวดี เป็นไม้ยืนต้น มีขนาดจากที่เป็นพุ่มเตี้ยแคระสูงประมาณ0.6 เมตร จนถึงต้นใหญ่มากอาจที่สูงได้ถึง 12 เมตร ลำต้นแผ่กิ่งก้านสาขาและพุ่มใบสวยงาม มีน้ำยางขนสีขาวเป็นพันธุ์ไม้ที่สลัดใบในฤดูแล้งก่อนที่จะผลิดอกผลิใบรุ่นใหม่ชนิดและพันธุ์ที่มีลักษณะดี ต้องมีทรงพุ่มแน่น มีกิ่งก้านสาขามาก ใบดกที่ปลายกิ่ง มีช่อดอกใหญ่ กิ่งที่ยังไม่แก่มีสีเขียวออ่นนุ่ม กิ่งที่แก่มีสีเทามีรอยตะปุ่มตะป่ำ ใบ เป็นใบเดี่ยวมีการเรียงตัวสลับกันและหนาแน่นใกล้ๆปลายกิ่ง มีตั้งแต่สีเขียวอ่อนถึงเขียวเข้ม มีเส้นกลางใบแตกสาขาออกไปคล้ายขนนก ขนาดใบแตกต่างกันตั้งแต่ 5-20 นิ้ว ช่อดอก จะถูกผลิตออกมาจากปลายยอดเหนือใบแต่กก็มีบางชนิดที่ออกช่อดอกระหว่างใบหรือออกดอกใต้ใบ ช่อดอกบางชนิดตั้งขึ้น บางชนิดห้อยลง ใน 1 ช่อดอกจะมีดอกบานพร้อมกัน 20-30 ดอก บางต้นสมบูรณ์เต็มที่อาจมีดอกมากกว่า 100 ดอก ต่อ 1 ช่อ ดอกโดยทั่วไป กลีบดอกมี 5 กลีบ เกสรตัวผู้ เกสรตัวเมีย อยู่ลึกเข้าไปข้างใน ดอกของ ลีลาวดีมีสีสรรหลากหลาย ทั้ง ขาว แดง เหลือง ชมพู ส้ม ม่วง สีทอง มีกลิ่นหอมต่างๆกันไปในแต่ละชนิด ดอกมีขนาด 2 - 6 นิ้ว มีกลิ่นหอม ผล เป็นฝักคู่ รูปยาวรี กว้างประมาณ 1.5 - 15 ซม. เมื่อแก่แตกเป็น 2ซีก เมล็ดมีจำนวนมาก เมล็ดแบนมีปีก ลีลาวดีมีช่วงชีวิตที่ยาวนานนับ 100 ปี

ฤดูกาลออกดอก

ออกดอกระหว่างเดือนกุมภาพันธุ์-เมษายน บางพันธุ์ออกดอกตลอดปี เช่น ขาวพวง

สภาพการปลูก

ลีลาวดี เป็นไม้กลางแจ้ง ชอบแสงแดด ทนต่อความแห้งแล้ง ไม่ชอบน้ำมาก ดินที่เหมาะสมในการปลูกลีลาวดี ควรมีลักษณะเป็นดินร่วนปนทราย ส่วนดินเหนียวหรือดินที่มีเนื้อดินละเอียดหนักซึ่งน้ำขังง่าย จะทำให้รากเน่า โคนเน่าได้ ลีลาวดีจะเจริญเติบโตในที่ที่มีแสงแดดส่องถึงหากไม่ได้รับแสงแดดเต็มที ก็จะไม่ออกดอก แต่บางพันธุ์ก็ไม่ต้องการแสงแดดจัดในช่วงบ่าย

การขยายพันธุ์

ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด,การปักชำกิ่งการขยายพันธุ์แบบนี้จะไม่มีรากแก้ว,การเสียบยอดพันธุ์ดีสามารถทำให้ในหนึ่งต้น เสียบยอดให้ได้ดอกหลายสีได้ ,และการขยายพันธุ์โดยการติดตา

การปลูกและดูแลรักษา
การปลูกในกระถางลีลาวดีจะตอบสนองต่อวัสดุปลูกที่มีความอุดมสมบูรณ์ ระบายน้ำได้ดี มีอินทรีวัตถุและได้รับปุ๋ยเสริมตามความเหมาะสม สัดส่วนที่ปลูกนกระถางโดยทั่วไป 50% มูลวัวที่ย่อยสลายดีแล้ว 25% ใบไม้ผุ 25% ดิน การให้น้ำ ใส่น้ำให้ดินในกระถางให้เปียกทั่วถึง จนน้ำส่วนเกินระบายออกทางรูระบายน้ำ แล้วปล่อยให้วัสดุปลูกแห้งก่อนให้น้ำครั้งต่อไปซึ่งอาจจะเป็นอาทิตย์ละ2ครั้ง หรือถ้าช่วงแล้งจัดๆ อาจเป็นวันเว้นวัน อย่างไรก็ตาม ควรตรวจสอบความชื้นวัสดุปลูกอย่างสม่ำเสมอ แต่วัสดุปลูกที่มีขนาดเล็กละเอียด เมื่อถึงระยะหนึ่งจะอัดตัวแน่นและรากจะไม่สามารถเจริญผ่านจุดนี้ไปได้น้ำก็จะขังไม่สามารถระบายน้ำได้ในที่สุดจะทำให้เกิดโรครากเน่าโคนเน่าได้การปลูกลงดินในแปลงปลูกดินควรเป็นดินร่วนปนทราย ส่วนดินเหนียวหรือดินที่มีเนื้อดินละเอียดหนักซึ่งน้ำขังง่ายไม่เหมาะที่จะใช้ในการปลูก ดินควรมีมาณอินทรียวัตถุที่เหมาะสม สามารถดูดยึดความชื้นได้ดี ในขณะเดียวกันต้องมีการระบายน้ำได้ดี การให้น้ำ ในการปลูกลงดินให้น้ำแต่นอ้ยให้ปริมาณสัปดาห์ละครั้ง ขึ้นอยูรกับสภาพความชื้นอากาศด้วย ถ้าอากาศร้อนแห้งแล้ง ก็ต้องให้น้ำบ่อยกว่าปกติเพื่อรักษาความเขียวของใบ แต่ให้น้ำมากเกินไปก็จะมีการเจริญเติบโตทางกิ่งก้านมากและทำให้ไม่ออกดอกการให้ปุ๋ยลีลาววดีจะเจริญเติบโตงอกงามได้ดีที่สุดในปุ๋ยทีมีไนโตรเจนต่ำ ฟอสฟอรัสสูง และโพแทสเซียม ในปริมาณที่เพียงพอ เนื่องจากธาตุฟอสฟอรัสจะกระตุ้นการออกดอก โดยทั่วไปลีลาวดีจะแตกกิ่งกานเมื่อมีดอก ดังนั้นต้องให้ปุ๋ยที่ส่งเสริมการออกดอกซึ้งเมื่อออกดอกมากก็หมายถึงจะมีกิ่งก้านสาขามากตามมา ส่วนธาตุไนโตรเจนจะช่วยส่งเสริมการเจริญเติบโตของลำต้น กิ่งก้าน ใบ แต่ถ้าได้รับมากเกินไป จะทำให้มีใบมากเกินไป และไม่มีดอก นอกจากนั้นยังต้องได้รับธาตุอาหารรองได้แก่ แคลเซี่ยมและกำมะถัน โดยเฉพาะธาตุแมกนีเซียม เพื่อป้องกันโรคใบไหม้รวมทั้งธาตุอาหารจุลธาตุที่เพียงพอ ได้แก่ ธาตุเหล็ก อลูมิเนียมทองแดง แมงกานีส โมลิบดินัม โบรอน และคลอไรด์ โดยเฉพาะธาตุเหล็ก ซึ่งช่วยป้องกันอาการใบซีด

วันพุธที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2551

ดอกไม้ประจำจังหวัดลพบุรี




ชื่อดอกไม้ ดอกพิกุล
ชื่อสามัญ Bullet Wood, Spanish Cherry
ชื่อวิทยาศาสตร์ Mimusops elengi Linn.
วงศ์ SAPOTACEAE
ชื่ออื่น กุน (ภาคใต้), แก้ว (ภาคเหนือ), ซางดง (ลำปาง), พิกุลป่า (สตูล), พิกุลเขา พิกุลเถื่อน (นครศรีธรรมราช), พิกุล (ทั่วไป)
ลักษณะทั่วไป พิกุลเป็นพรรณไม้ยืนต้นขนาดกลางสูงประมาณ 8–15 เมตร เป็นพุ่มทรงกลมใบออกเรียงสลับกันใบมนรูปไข่ปลายแหลม ลักษณะโคนใบมนสอบขอบใบโค้งเป็นคลื่นเล็กน้อย ใบเป็นมันสีเขียว ดอกเป็นดอกเดี่ยว ออกดอกเป็นกระจุกตามง่ามใบหรือยอด มีกลีบดอกประมาณ 8 กลีบ เรียงซ้อนกัน กลีบดอกเป็นจักรเล็กน้อย สีขาวนวลมีกลิ่นหอมมาก ผลรูปไข่หรือกลมรีผลแก่มีสีแสด เนื้อในเหลืองรสหวาน ภายในมีเมล็ดเดียว
การขยายพันธุ์ เพาะเมล็ด, ตอนกิ่ง
สภาพที่เหมาะสม ดินทุกชนิด แสงแดดจัด
ถิ่นกำเนิด อินเดีย, พม่า และมาเลเซีย

วันอังคารที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2551

ดอกราชพฤกษ์ ดอกไม้ประจำชาติ



ชื่อวิทยาศาสตร์ Cassia fistula L.
วงศ์ LEGUMINOSAE-CAESALPINIOIDEAE
ชื่อสามัญ Pudding Pine, Indian Laburnum, Golden Shower
ชื่ออื่นๆ คูน ลมแล้ง บางท้องถิ่นเรียกว่า ชัยพฤกษ์



ไม้ต้น ผลัดใบ สูง 8 - 15 เมตร ใบประกอบแบบขนนกปลายคู่เรียงสลับ มีใบย่อย 3 - 8 คู่ แผ่นใบรูปป้อม รูปไข่ หรือรูปขอบขนาน ขนาดกว้าง 4 - 8 เซนติเมตร ยาว 7 - 15 เซนติเมตร ปลายใบแหลม โคนมน ดอกสีเหลือง ออกเป็นช่อตามซอกใบ หรือตามกิ่ง ยาว 20 - 45 เซนติเมตร ผลเป็นฝักทรงกระบอก ยาว 20 - 60 เซนติเมตร เส้นผ่าศูนย์กลาง 1.5 - 2.5 เซนติเมตร




นิเวศวิทยา ถิ่นกำเนิดเอเชียแถบร้อน ขึ้นตามป่าเบญจพรรณแล้งทั่วไป
ออกดอก กุมภาพันธ์ - พฤษภาคม ทิ้งใบก่อนออกดอก
ขยายพันธุ์ โดยใช้เมล็ด




วิธีการเตรียมเมล็ดก่อนเพาะ นำเมล็ดมาตัดหรือทำให้เกิดบาดแผลที่ปลายเมล็ดแล้ว แช่น้ำไว้ 12 ชั่วโมง หรือแช่กรดซัลฟูริค เข้มข้น 1.84 ประมาณ 15 นาที แล้วล้างน้ำให้สะอาด แช่น้ำทิ้งไว้ 12 ชั่วโมง วิธีนี้สะดวกแต่อันตราย และอีกวิธีหนึ่งคือ ต้มน้ำให้เดือดแล้วเทลงในเมล็ด ทิ้งไว้ข้ามคืน ทั้ง 3 วิธีนี้จะทำ ให้เมล็ดดูดน้ำเข้าไปและพร้อมที่จะงอก วิธีเพาะ อาจหยอดลงในถุงดินที่เตรียมไว้หรือจะเพาะในแปลงเพาะแล้วย้ายชำกล้าในภายหลัง ควรให้เมล็ดอยู่ใต้ผิวดิน 3-5 มิลลิเมตร รดน้ำให้ชุ่ม เมล็ดจะงอกภายใน 1-2 สัปดาห์
ประโยชน์ รากฝนทาแก้กลาก เป็นยาระบาย รากและแก่นเป็นยาขับพยาธิ เปลือกและไม้ใช้ฟอกหนัง และใช้บดทาผื่นตามร่างกาย เนื้อไม้สีแดงแกมเหลือง ทนทาน ใช้ทำเสา ล้อเกวียน ใบต้มกินเป็นยาระบาย ดอกแก้ไข้ ฝักเนื้อในรสหวาน เป็นยาระบาย ช่วยบรรเทาการแน่นหน้าอก แก้ขัดข้อ

เจ้าดอกไม้


ดอกไม้มีหนามแหลม

มิใช่แย้มคอยคนชม

บานไว้เพื่อสะสม

ความอุดมแห่งแผ่นดิน

วันจันทร์ที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2551

class interface

Interface คือ การกำหนดความสามารถของ object ใน OOP ซึ่ง class ใด implement interface ก็เป็นการสัญญาว่าจะมีความสามารถตามที่ interface กำหนดไว้ พูดง่ายๆก็คือ เป็นการแยก specification ออกจาก ส่วน implementation ของ class นั่นเอง ดังนั้นการติดต่อกับ object ที่สร้างขึ้นจาก class ดังกล่าวต้องผ่าน interface เท่านั้น

interface นั้นเป็น abstract data type ซึ่งไม่สามารถ instantiate ได้ การใช้งานจะต้องสร้าง object ก่อน (เช่น Math) แล้ว ให้ reference ของ interface ชี้ไปยัง object นั้น
class หลายๆ class สามารถ implement interface เดียวกันได้ โดยแต่ละ class ก็มีส่วน implementation แตกต่างกันไป ซึ่งการเรียก method ของ interface จะขึ้นอยู่กับ ชนิดของ object ที่ interface ผูกติดอยู่ หมายความว่า interface สามารถทำ polymorphism ได้ เช่น เดียวกับกลไกของ virtual function ของ class ธรรมดานั่นเอง

วันพฤหัสบดีที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2551

Data Mining

การทำเหมืองข้อมูล (data mining)
หรืออาจจะเรียกว่า การค้นหาความรู้ในฐานข้อมูล (Knowledge Discovery in Databases - KDD) เป็นเทคนิคเพื่อค้นหารูปแบบ (pattern) ของจากข้อมูลจำนวนมหาศาลโดยอัตโนมัติ โดยใช้ขั้นตอนวิธีจากวิชาสถิติ การเรียนรู้ของเครื่อง และ การรู้จำแบบ หรือในอีกนิยามหนึ่ง การทำเหมืองข้อมูล คือ กระบวนการที่กระทำกับข้อมูล(โดยส่วนใหญ่จะมีจำนวนมาก) เพื่อค้นหารูปแบบ แนวทาง และความสัมพันธ์ที่ซ่อนอยู่ในชุดข้อมูลนั้น โดยอาศัยหลักสถิติ การรู้จำ การเรียนรู้ของเครื่อง และหลักคณิตศาสตร์